Fire Alarm and Detection Systems
The tasks of monitoring a facility or application for potential fire threats or operating a releasing system are facilitated by a fire detection and alarm system.
Fire Alarm and Detection System
The tasks of monitoring a facility or application for potential fire threats or operating a releasing system are facilitated by a fire detection and alarm system. Fire detection devices, typically smoke, heat or optical fire detectors, electronically relay fire events to a fire control panel which processes the fire detection signals from protected areas and immediately performs key operations, including sounding alarms, shutting down equipment, and releasing fire suppression systems. The control panel also facilitates input signals from manual stations, as well as audible and visual notification devices.
These systems are supervised to ensure circuit integrity. In addition, the control panels are supplied with battery backup in the event of power loss.
Fire Alarm System Component
ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ประกอบไปด้วย 5 ส่วนใหญ่ๆ ซึ่งจะทำงานเชื่อมโยงกัน
1. Power Supply (ชุดจ่ายไฟ)
2.Fire Alarm Control Panel (แผงควบคุม)
3.Initiating Devices (อุปกรณ์เริ่มสัญญาณ)
4.Audible and Visual Devices (อุปกรณ์แจ้งสัญญาณด้วยเสียงและแสง)
5.Auxiliary Devices (อุปกรณ์ประกอบ)
1. Power Supply (ชุดจ่ายไฟ)
ชุดจ่ายไฟ เป็นอุปกรณ์แปลงกำลังไฟฟ้าของแหล่งจ่ายไฟมาเป็นกำลังไฟฟ้ากระแสตรง ที่ใช้ปฎิบัติงานของระบบและจะต้องมีระบบไฟฟ้าสำรอง เพื่อให้ระบบทำงานได้ในขณะที่ไฟปกติดับ
2. Fire Alarm Control Panel (แผงควบคุม)
เป็นส่วนควบคุมและตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบทั้งหมด ประกอบไปด้วย วงจรตรวจคุมคอยรับสัญญาณจากอุปกรณ์เริ่มสัญญาณ, วงจรทดสอบการทำงาน, วงจรป้องกันระบบ, วงจรสัญญาณแจ้งการทำงานในสภาวะปกติ และภาวะขัดข้อง เช่น สายไฟจากอุปกรณ์ตรวจจับขาด, แบตเตอรี่ต่ำ เป็นต้น ตู้แผงควบคุม(FCP) จะมีสัญญาณไฟ และเสียงแสดงสภาวะต่างๆ บนหน้าตู้ เช่น
– Fire Lamp : จะติดเมื่อเกิดเพลิงไหม้
– Main Sound Buzzer : จะมีเสียงดังขณะแจ้งเหตุ
– Zone Lamp : จะติดค้างแสดงโซนที่เกิดAlarm
– Trouble Lamp : แจ้งเหตุขัดข้องต่างๆ
– Control Switch : สำหรับการควบคุม เช่น เปิด/ปิดเสียงที่ตู้ และกระดิ่ง,ทดสอบการทำ งานตู้, ทดสอบ Battery, Reset ระบบหลังเหตุการณ์เป็นปกติ
3. Initiating Devices (อุปกรณ์เริ่มสัญญาณ)
เป็นอุปกรณ์ต้นกำเนิดของสัญญาณเตือนอัคคีภัย ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
3.1 อุปกรณ์เริ่มสัญญาณจากบุคคล (Manual Station) ได้แก่ สถานีแจ้งสัญญาณเตือนอัคคีภัยแบบใช้มือกด (Manual Push Station)
3.2 อุปกรณ์เริ่มสัญญาณโดยอัตโนมัติ เป็นอุปกรณ์อัตโนมัติที่มีปฎิกิริยาไวต่อสภาวะ ตามระยะต่างๆ ของการเกิดเพลิงไหม้ ได้แก่ อุปกรณ์ตรวจจับควัน (Smoke Detector) อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector) อุปกรณ์ตรวจจับเปลวไฟ (Flame Detector) อุปกรณ์ตรวจจับแก๊ส (Gas Detector)
4.Audible and Visual Devices
หลังจากอุปกรณ์เริ่มสัญญาณทำงานโดยส่งสัญญาณมายังตู้ควบคุม (FCP) แล้ว FCPจึงส่งสัญญาณออกมาโดยผ่านอุปกรณ์ ได้แก่ กระดิ่ง, ไซเรน, ไฟสัญญาณ เป็นต้น เพื่อให้ผู้รับผิดชอบ หรือเจ้าหน้าที่ดับเพลิงได้ทราบว่ามีเหตุเพลิงไหม้เกิดขึ้น
- Alarm horns
- Alarm strobes
- Alarm bells
- Explosion proof devices
- Combination units
5. Auxiliary Devices (อุปกรณ์ประกอบ)
เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานเชื่อมโยงกับระบบอื่นที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมป้องกัน และดับเพลิงโดยจะถ่ายทอดสัญญาณระหว่างระบบเตือนอัคคีภัยกับระบบอื่น เช่น
- ส่งสัญญาณกระตุ้นการทำ งานของระบบบังคับลิฟท์ลงชั้นล่าง, การปิดพัดลมในระบบปรับอากาศ, เปิดพัดลมในระบบระบายอากาศ, เปลี่ยนแปลงเพื่อควบคุมควันไฟ,การควบคุมเปิดประตูทางออก, เปิดประตูหนีไฟ, ปิดประตูกันควันไฟ, ควบคุมระบบกระจายเสียง และการประกาศแจ้งข่าว, เปิดระบบดับเพลิง เป็นต้น
- รับสัญญาณของระบบอื่นมากระตุ้นการทำงานของระบบสัญญาณเตือนอัคคีภัย เช่น จากระบบพ่น นํ้าปั๊มดับเพลิง ระบบดับเพลิงด้วยสารเคมีชนิดอัตโนมัติ เป็นต้น